สมุนไพร ส่วนผสมสุดฮิต ที่นำมา ทำ ยา อาหารเสริม และเครื่องสำอาง

     เหตุผลที่ทำให้ผลิตภัณฑ์ที่มาจาก สมุนไพร นำมา ทำ ยา อาหารเสริม และเครื่องสำอาง เหมาะแก่การเป็นตัวเลือกของขายดีในปัจจุบันนี้

1. เป็นสินค้าที่ซื้อง่าย ขายคล่อง 

ในปัจจุบันผลิตภัณฑ์สมุนไพรและเครื่องสำอาง เวชสำอางต่างหันมาออกสินค้าให้น่าซื้อเพื่อขยายฐานลูกค้า ที่ไม่ว่าจะเป็นนักเรียนหรือพนักงานทั่วไป ก็ต่างสามารถซื้อได้ ด้วยราคาที่จับต้องได้ในราคาที่ถูก อีกทั้งยังมีให้เลือกหลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น อาหารเสริม สกินแคร์ เครื่องสำอาง หรือจะเป็นผลิตภัณฑ์บรรเทาอาการปวด เพื่อให้สามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

2. ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและเครื่องสำอางเป็นที่นิยมในต่างประเทศ

นอกจากผลิตภัณฑ์สมุนไพรและเครื่องสำอางของไทยจะเป็นที่นิยมในประเทศแล้ว ชาวต่างชาติก็ชื่นชอบและนิยมใช้เช่นกัน จากข้อมูลที่รวบรวมมา จะสังเกตได้ว่า ระยะเวลา 6 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการส่งออกผลิตภัณฑ์สมุนไพรมากเป็นอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มูลค่ากว่า 12,211 ล้านบาท 

(ข้อมูลจาก เว็บไซต์ ROYAL THAI GOVERNMENT)

3. ภาครัฐส่งเสริม 

โดย DITP หรือกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ยังส่งเสริมโครงการ “พัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่ตลาดต่างประเทศ” พร้อมส่งเสริมให้มีการพัฒนาปรับบรรจุภัณฑ์เพื่อให้เหมาะแก่ผู้บริโภคในยุคนี้มากยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เช่น การใช้บรรจุภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของวัสดุธรรมชาติและสามารถย่อยสลายได้ โดยมีการแบ่งผลิตภัณฑ์เป็น 3 กลุ่ม โดยคัดเลือกและปรับให้เข้ากับการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ของคนในยุคนี้

สมุนไพร ที่มักถูกใช้ ทำ ยา อาหารเสริม และเครื่องสำอาง

     ปัจจุบันผู้ประกอบการอาหารเสริม เครื่องสำอาง เวชสำอาง เลือกใช้”สมุนไพร”เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ 

     เพราะ สมุนไพร (Herbs) คือ พืชที่ใช้เป็นยาหรือเครื่องสำอาง มีคุณสมบัติทางยาและมีการใช้ในการเร่งรักษาสุขภาพ และการจัดแต่งหรือเติมเต็มรสชาติในอาหารและเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ด้วยกลิ่นและรสชาติที่พิเศษ สมุนไพรส่วนใหญ่มีกลิ่นหอมและมีสรรพคุณทางการแพทย์ บางสมุนไพรมีสมบัติทางยาที่ช่วยรักษาหรือลดอาการของโรคต่าง ๆ ในการแพทย์ แต่ก็ควรใช้ให้ถูกต้อง และอย่าใช้มากเกินไปเนื่องจากอาจมีผลข้างเคียงหรือเกิดอันตรายต่อสุขภาพ

     การใช้สมุนไพรในอาหารเสริมและเครื่องสำอางได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายเนื่องจากมีประโยชน์ต่อสุขภาพและความงามของผิวหนังมากมาย สมุนไพรเป็นส่วนหนึ่งของอาหารเสริมที่มีลักษณะธรรมชาติและน่าสนใจในการเสริมสุขภาพ สมุนไพรอาจถูกนำมาใช้ในรูปแบบของสารสกัด แคปซูล, น้ำมัน, ผง, หรือรูปแบบอื่น ๆ สำหรับการบริโภคหรือทางผิวหนัง 

การใช้สมุนไพรในรูปแบบนี้มีเป้าหมายหลากหลาย 

  1. เสริมสารอาหาร : สมุนไพรอาจใช้เสริมสารอาหารที่สำคัญ เช่น วิตามิน, แร่ธาตุ, กรดอะมิโน, หรือสารต่าง ๆ ที่ช่วยเสริมสุขภาพเซลล์และระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
  2. เพื่อสุขภาพ : สมุนไพรมักมีสมบัติทางการแพทย์ที่ช่วยในการรักษาหรือสนับสนุนระบบร่างกาย เช่น การลดความอักเสบ, การบรรเทาอาการเจ็บปวด, การปรับสมดุลระบบภูมิคุ้มกัน, หรือการส่งเสริมระบบย่อยอาหาร
  3. รักษาโรค : บางสมุนไพรมีสมบัติทางการแพทย์ที่ใช้ในการรักษาโรคเฉพาะ เช่น สมุนไพรที่ใช้ในการควบคุมความดันโลหิต, รักษาโรคหัวใจ, หรือควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  4. บำรุงผิว : สมุนไพรมักใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเพื่อบำรุงผิว ลดริ้วรอย, และส่งเสริมความกระจ่างของผิว
  5. ลดน้ำหนัก : บางสมุนไพรมีสมบัติที่ช่วยในการลดน้ำหนัก และถูกนำมาใช้ในผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก

     ดังนั้นเพื่อให้ผู้ที่จะใช้สมุนไพรมีความเข้าใจและสามารถใช้สมุนไพรได้ถูกต้องและปลอดภัยนอกจากการศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับสมุนไพรนั้น ๆ ว่าเหมาะสมต่อการนำมาใช้หรือไม่ และรู้ถึงการใช้อย่างถูกต้อง หรือมีหลักในการเลือกใช้ยาสมุนไพรหรือผลิตภัณฑ์สมุนไพร (หลัก 4 ถูก) ดังนี้

  1. ถูกต้น เนื่องจากสมุนไพรส่วนใหญ่มีชื่อพ้องหรือซ้ำกัน ชื่อเฉพาะท้องถิ่น ที่อาจเรียกชื่อแตกต่างกันทั้ง ที่เป็นพืชชนิดเดียวกัน หรือบางครั้งชื่อเหมือนกันแต่เป็นพืชคนละชนิด เพราะฉะนั้นจะใช้สมุนไพรอะไรก็ต้องใช้ให้ถูกต้นจริง โดยอาจใช้ชื่อพฤกษศาสตร์ของพืชแต่ละชนิดเป็นชื่อเรียกเพื่อป้องกันความสับสน และตรวจสอบเอกลักษณ์พืชโดยเปรียบเทียบกับตัวอย่างพืชที่อยู่ในสวนพฤกษศาสตร์หรือในหนังสือพฤกษศาสตร์ที่เชื่อถือได้
  2. ถูกส่วน ส่วนของพืชสมุนไพรแต่ละส่วนราก ดอก ใบ เปลือก ผล หรือเมล็ด หรือความสุก แก่ อ่อน ดิบของสมุนไพร อาจมีองค์ประกอบทางเคมีหรือสารสำคัญที่เหมือนหรือแตกต่างกันได้ หรือในพืชบางชนิดส่วนต่าง ๆของพืชอาจมีสารสำคัญที่เหมือนกันแต่มีปริมาณแตกต่างกัน จึงทำให้ความแรงหรือประสิทธิภาพในการรักษาแตกต่างกันได้ หรือในพืชบางชนิดบางส่วนใช้เป็นยา บางส่วนมีพิษ
  3. ถูกขนาด คือ แม้ว่ายาสมุนไพรหลายชนิดจะไม่อันตราย แต่ปริมาณ/ขนาดของการใช้ที่มากเกินขนาดอาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้หรือผลการรักษา โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่มีความทนต่อยาน้อยกว่าผู้ใหญ่ และระยะเวลาการใช้ ที่ไม่ให้ใช้ติดต่อกันนานเกินกว่าคำแนะนำที่กำหนดควรหยุดยาเพื่อให้ร่างกายได้พักและกำจัดยาออกจากร่างกาย หากจำเป็นหรือมีความประสงค์ที่จะใช้สมุนไพรเป็นเวลานาน ควรมีการตรวจร่างกายทั้งก่อน ระหว่าง และหลังการใช้สมุนไพรเป็นระยะ ๆ ได้แก่ ตรวจการทำงานของตับ เช่น ตรวจเอนไซม์ตับ (AST, ALT) การทำงานของไต (BUN, Cr) ความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น
  4. ถูกวิธี วิธีการใช้ยาหรือการนำสมุนไพรมาปรุงประกอบยาให้ถูกต้องถูกตามหลัก เช่น บางชนิดต้องใช้ต้นสด คั้นน้ำ ต้มเคี่ยว ต้มกับน้ำ หรือดองเหล้า เป็นต้น ในกรณีที่ต้องการปรับเปลี่ยนเป็นวิธีอื่นที่แตกต่างจากวิธีโบราณหรือดั้งเดิม จำเป็นต้องศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยก่อนจะใช้จริง เนื่องจากสารเคมีที่อยู่ในพืชแต่ละชนิดมีความหลากหลาย การเปลี่ยนวิธีเตรียมยาอาจทำให้สารที่ถูกสกัดออกมาแตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งอาจเกิดอันตรายได้

(ข้อมูลจาก : มหาวิทยาลัยมหิดล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก)

     หากผู้ประกอบการใด สนใจผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมจาก สมุนไพร  เช่น อาหารเสริม และเครื่องสำอาง สามารถติดต่อ SNPS ได้เลย เรายินดีให้คำปรึกษาและแนะนำ มั่นใจได้เลยว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จะมีคุณภาพอย่างแน่นอน

ทั้งนี้สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท สเปเชี่ยลตี้ เนเชอรัล โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) SNPS

โทร: 038-458-698 ต่อ 102 , 086-307-3610
ไลน์: @snpthai
อีเมล์: sales@snpthai.com
เว็บไซต์: http://www.snpthai.com

บริษัท สเปเชียลตี้ อินโนเวชั่น จำกัด (SI)

โทร: 02-313-3456, 095-558-2289
ไลน์: @SpecialtyInno
อีเมล์: contact@spgthai.com
เว็บไซต์: http://www.specialtyinnovation.com