GuVNis (กระชายดำ)

Product Name : GuVNis (กระชายดำ)

กระชายดำ หรือ โสมไทย เป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมาก เนื่องจากว่ามีสรรพคุณที่เชื่อกันว่าเป็นยาสมุนไพรอายุวัฒนะชั้นหนึ่งของไทย มาแต่โบราณกาลและเชื่อว่า กระชายดำ สามารถเพิ่มพลังทางเพศให้กับผู้รับประทานได้ ทั้งยังเป็นพืชสมุนไพรที่สำคัญประจำเผ่าม้ง ซึ่งมักพกติดตัวไว้ในย่ามแทบทุกคน เพื่อใช้กินบรรเทาอาการปวดเมื่อย เหนื่อยหอบ หืดหอบได้

สรรพคุณ : กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และมีส่วนช่วยรักษาอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศในผู้ชาย

คำอธิบาย

Product Name : GuVNis (กระชายดำ)

Botanical Name Kaempferia parviflora Wall. ex Baker

Family Name : ZINGIBERACEAE

Common Name : กระชายดํา

Part Used : เหง้า

 

กระชายดำ หรือ โสมไทย เป็นพืชสมุนไพรที่ได้รับความสนใจจากผู้บริโภคในยุคปัจจุบันมาก เนื่องจากว่ามีสรรพคุณที่เชื่อกันว่าเป็นยาสมุนไพรอายุวัฒนะชั้นหนึ่งของไทย มาแต่โบราณกาลและเชื่อว่า กระชายดำ สามารถเพิ่มพลังทางเพศให้กับผู้รับประทานได้ ทั้งยังเป็นพืชสมุนไพรที่สำคัญประจำเผ่าม้ง ซึ่งมักพกติดตัวไว้ในย่ามแทบทุกคน เพื่อใช้กินบรรเทาอาการปวดเมื่อย เหนื่อยหอบ หืดหอบได้

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์กระชายดำ : เป็นพืชล้มลุกมีเหง้าใต้ดิน รากสะสมอาหารมีลักษณะเป็นปุ่มๆ ไม่ยาวเป็นหางไหลเหมือนกับกระชายธรรมดา แต่ลักษณะแตกต่างที่เด่นชัดกับกระชายธรรมดาก็คือ เนื้อในของหัวกระชายดำ จะมีสีคล้ายดั่งผลหว้า คือมีสีออกม่วงอ่อนๆ ไปจนถึงสีม่วงเข้มถึงดำ จึงได้ชื่อว่า “กระชายดำ” กระชายดำ จัดเป็นว่านชนิดหนึ่ง ลำต้นมีความสูงประมาณ 30 ซม. ส่วนกลางของลำต้นเป็นแก่นแข็ง มีกาบหรือโคนใบหุ้ม ใบมีกลิ่นหอมเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับคล้ายกระชายธรรมดา แต่มีใบใหญ่ และเขียวเข้มกว่า ผลิแทงม้วนเป็นกรวยขึ้นมาจากรากไม่มีต้น ขนาดใบกว้างประมาณ 7-15 ซม. ยาว 30-35 ซม.
สรรพคุณกระชายดำ : มีรสขม เผ็ดร้อน เขื่อว่าสามารถบำรุงฮอร์โมนเพศชายได้ กระตุ้นประสาท ทำให้กระชุ่มกระชวย บำรุงกำลัง เป็นยาอายุวัฒนะ ชะลอความแก่ ขับลม ขับปัสสาวะ แก้โรคกระเพาะอาหาร ช่วยย่อย แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เนื่องจากรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา บำรุงเลือดสตรี แก้ตกขาว ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ ตามตำรากล่าวว่า กระชายดำ มีสรรพคุณแก้โรคในปาก เช่น ปากเปื่อย ปากเป็นแผล แก้ปวดมวนท้อง รักษาโรคปวดข้อ ปวดหลัง ปวดเมื่อยตามร่างกาย รักษาโรคภูมิแพ้ ขับพิษต่างๆในร่างกาย รักษาโรคบิด เป็นต้น